Monday, December 28, 2015

เทคนิค ‘ขับรถขึ้นเขา-ลงเขา’ ของชาวเกียร์ออโต้





ช่วงสิ้นปีแบบนี้จะมีอะไรดีไปกว่าการออกไปเที่ยวรับลมเย็นๆ หรือสูดอากาศดีๆบนยอดดอย เพราะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายจะได้รับไอหนาวบ้างหลังจากที่เผชิญหน้ากับแสงแดดเปรี้ยงๆมาเกือบตลอดทั้งปี แต่การขับรถขึ้น-ลงเขาคงไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับคนขับรถเกียร์ออโต้มือใหม่ หากพลาดพลั้งไปอาจได้รับอันตรายจนถึงแก่เสียชีวิตได้ หากยังไม่ชัวร์ว่าจะต้องใช้เกียร์แบบไหน วันนี้มาลองทำความเข้าใจไปด้วยกันอีกสักครั้ง เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมกับวันหยุดยาวๆที่กำลังจะมาถึงเร็วๆนี้กันค่ะ

เลือกเครื่องยนต์ให้เหมาะสม


การขับรถขึ้นเขาอาจต้องใช้รถยนต์ที่มีกำลังเครื่องยนต์มากกว่า 1500 ซีซี ขึ้นไป ส่วนกรณีรถยนต์ อีโคคาร์ประมาณ 1200 ซีซี ก็พอไปได้ แต่คงต้องดูแรงบิดของรุ่นให้ดี

หลักการขับรถขึ้นเขา


1. ให้ใช้เกียร์ D หรือ D2-D1 ขึ้นอยู่กับความชันน้อยหรือมาก โดยให้ใช้เกียร์ D2-D1 ในการขับขึ้นเขาลงเขา และเปลี่ยนไปใช้เกียร์ D บ้าง เมื่อรถอยู่ในทางราบ 

2. เหยียบคันเร่งตามจังหวะความชัน พยายามให้รอบเครื่องอยู่ประมาณ 2000-3500 ควบคุมไม่ให้เกิน 4500

3. ใช้ความเร็วเพียง 50-80 km/h ไม่ต้องรีบ ไม่ต้องแข่งกับใคร ถ้ารถหลังรีบก็ให้ชิดซ้ายเพื่อเปิดทางให้เขาแซงไปก่อน

4. คุมระยะรถให้ห่างคันหน้าประมาณ  30-50 เมตร เพราะการเว้นระยะจะเผื่อไว้ในกรณีที่รถคันหน้าเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น ขึ้นไม่ไหว หรือรถตายกลางทาง คุณจะได้มีโอกาสหลบเลี่ยงได้อย่างปลอดภัย  ที่สำคัญการเว้นระยะจะทำให้คุณมีโอกาสเร่งรถขึ้นเขาได้สบายมากขึ้นด้วย

5. เมื่อต้องขับรถโค้งต่อเนื่องรูปตัว S ต้องมองให้ไกล มองให้ลึก เมื่อแน่ใจว่าทางว่าง และไม่มีรถสวนมาให้ จากนั้นให้ถอนคันเร่งลง แล้วเสียบตัดโค้งในแนวการขับให้เป็นเส้นตรงมากที่สุด

6. การขับในทัศนวิสัยที่ไม่ดี หรือเป็นทางโค้งแคบที่มีสันเขาบังสายตา ควรเข้าโค้งแบบธรรมดา และต้องบีบแตรส่งสัญญาณก่อนทุกครั้งเพื่อป้องกันรถที่วิ่งสวนมา

 หลักการขับรถลงเขา


1. ให้ใช้เกียร์ D หรือ D2-D1 เช่นเดียวกันตอนขึ้นเขา และห้ามใส่เกียร์ว่าง  'N' ลงเขาเด็ดขาด! เพราะจะทำให้รถไหลลงด้วยความเร็วสูง โดยไม่มีแรงหน่วงของเครื่องยนต์ ที่สำคัญอย่าลืมควบคุมความเร็วของรถให้สัมพันธ์กับเกียร์ด้วย

2. ห้ามย้ำเบรคค้างนานๆ เพราะจะทำให้ผ้าเบรคไหม้ คุมรถไม่อยู่ หรือ "เบรคแตก" ได้ ให้แตะเบรคเบาๆเป็นช่วงๆให้รู้สึกว่ารถชะลอความเร็วลง

3. ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรเหยียบคันเร่ง แต่ปล่อยให้รถลงมาเองด้วยเกียร์ D/D1-2

4. ก่อนเข้าโค้งหักศอกแล้วลาดลง ให้แตะเบรคลดความเร็วลงมาที่ 40-50 km/h ก็พอ

5. อย่าแซงรถใหญ่หรือรถบรรทุกหนักในช่วงทางลงเขาชัน เพราะรถพวกนี้จะมีอัตราเร่งสูงกว่ารถทั่วไป

การจะขับรถขึ้นเขาหรือลงเขาต้องอย่าลืมพกสติในการขับขี่ไปให้มากๆด้วย เพราะการขับรถเส้นทางเหล่านี้ไม่ใช่เส้นทางปกติที่คุณขับกันทุกวัน แต่เป็นการขับขี่บนเส้นทางที่มีความเสี่ยงสูง หากคุณประมาท โอกาสที่จะประสบอุบัติเหตุก็ย่อมเกิดขึ้นได้ง่ายมากกว่าปกติ
        http://www.thaijobsgov.com%20/8888888




loading...