ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่นิยมการเลี้ยงบอนไซกันมากในปัจจุบันจึงได้แบ่งลักษณะบอนไซออกตามรูปทรงที่ตกแต่งให้เป็นแบบต่างๆตามลักษณะของลำต้น 5 ชนิด และแบ่งย่อยอีกหลายแบบ
1. Chokkan หมายถึง ไม้บอนไซที่มีส่วนของลำต้นตั้งตรง ทำมุมกับแนวระดับประมาณ 90 องศาเป็นมุมตั้งฉาก
2.Tachiki หมายถึง ลักษณะบอนไซที่มีส่วนของลำต้นเอนไปทางซ้ายและขวาข้างใดข้างหนึ่งเล็กน้อย ซึ่งจะคงรูปแบบแนวตั้งตรงของลำต้น ซึ่งพุ่มใบที่แตกออกมาทั้งสองข้างไม่เท่ากัน
3.Shakan หมายถึง ลักษณะบอนไซที่มีลำต้นเอนจากแนวระดับมาทางด้านข้างมากขึ้น โดยทำมุมกับแนวระดับประมาณ 45 องศา
4.Han-kengai เป็นบอนไซที่มีลักษณะลำต้นเอนพับลงเกือบจดบริเวณปากกระถาง
5.Kengai เป็นบอนไซที่มีลักษณะลำต้นเอนห้อยย้อยต่ำกว่าปากกระถาง ส่วนยอดเลื้อยกลับไปกลับมาต่ำกว่าปากกระถาง
แบบลำต้นโน้มเอียง (Sianting)
ลำต้นจะเอนลงจากแนวตั้งเล็กน้อย หรือเอนทำมุม 45 องศากับแนวระดับ จะเป็นทางซ้ายหรือทางขวาก็ได้ การแต่งบอนไซประเภทนี้มักจัดให้รากและกิ่งอยู่เพียงด้านเดียว พุ่มใบอาจแต่งให้สมดุลกับลำต้นหรือเป็นรูปอื่นๆที่ทำให้เห็นว่าต้นไม้นั้นเอนจากแนวตั้งด้วยก็ได้ ลักษณะให้ความรู้สึกเหมือนไม้ขึ้นบนที่สูงตามหน้าผาที่มีลมแรง
แบบลำต้นคู่ ( Twin Trunk)
เป็นไม้ตอแอบ คือมีลำต้นตั้งแต่ 2 ต้นขึ้นไปต้นหนึ่งอาจเล็กกว่าอีกต้นก็ได้ ลำต้นอาจไม่ได้เกิดจากตอเดียวกันก็ได้ ตัดแต่งให้มีขนาด และความสูงของลำต้นสัมพันธ์ได้สมดุล ประกอบเป็นรูปทรงสวยงาม ถ้ากิ่งช่อใบที่แตกยื่นออกมารับกับลำต้น ก็จัดว่าอยู่ในบอนไซชั้นดี
แบบลำต้นคู่ ( Twin Trunk)
เป็นไม้ตอแอบ คือมีลำต้นตั้งแต่ 2 ต้นขึ้นไปต้นหนึ่งอาจเล็กกว่าอีกต้นก็ได้ ลำต้นอาจไม่ได้เกิดจากตอเดียวกันก็ได้ ตัดแต่งให้มีขนาด และความสูงของลำต้นสัมพันธ์ได้สมดุล ประกอบเป็นรูปทรงสวยงาม ถ้ากิ่งช่อใบที่แตกยื่นออกมารับกับลำต้น ก็จัดว่าอยู่ในบอนไซชั้นดี
6
แบบลำต้นเอนมาก( Semi Cascade)
คือลำต้นจะเอนลงจากแนวตั้งฉากมากกว่า 45 องศาหรือเกือบถึงขอบกระถางก็ได้ พุ่มใบอาจแตกออกตามส่วนยอดของลำต้นที่เอนไปด้วย ลำต้นอาจเอนไปข้างใดข้างหนึ่งของแนวตั้งก็ได้ แต่นิยมให้เอนไปทางเดียวกัน สร้างความรู้สึกเหมือนต้นไม้ริมหน้าผาถูกลมแรงพัด
7
แบบตกกระถาง (Cascade )
ลำต้นเอนต่ำลงจากขอบกระถางและแตกกิ่งแตกพุ่มใบห้อยลงอยู่ต่ำกว่าระดับขอบกระถาง อาจห้อยยาวลงมาจากขอบกระถางมาก จนทำให้ต้องหาที่ตั้ง หรือรองกระถางบนม้าสูง ไม่สามารถตั้งกระถางบอนไซประเภทนี้บนโต๊ะหรือบนพื้นราบธรรมดาได้ ต้องใช้ม้าสูงๆ หรือโต๊ะตั้งเล็กๆที่มีส่วนสูงพอรับกิ่งใบที่ห้อยย้อยลงมาได้พอดีไม่กองพื้น
8
แบบบิดเกลียว ( Coiled )
เป็นต้นที่ดัดให้โค้งเป็นรูปวงกลม หรือลำต้นบิดเป็นเกลียวไปมาการแตกกิ่งจัดให้แตกในทิศทางสมดุลแลน่าดูกับลำต้น ให้บรรยากาศมีลมพายุพัดหมุนแรงจัดรอบต้น สร้างความรู้สึกมีพลัง สวยงาม ส่วนใหญ่รากจะมีขนาดใหญ่ เปลือกหยาบแตกสะเก็ด กิ่งก้านจะต้องบิดงอ ให้รูปทรงสมดุลกับลำต้นด้วย
9
แบบกลุ่มกอ ( Sinuous )
เป็นไม้กอที่ถูกแบ่งแยกมาจากกอเดิม มีหลายลำต้นซึ่งเป็นกอเดียวกัน อาจมีลักษณะทรวดทรงของลำต้นต่างๆกัน แล้วแต่การดัดแปลงแล้วแต่การตกแต่ง มองดูคล้ายป่าจำลองเล็กๆในกระถาง
10
แบบโผล่ราก (Exposed Root)
ลักษณะของลำต้นลอยสูงขึ้น โดยมีรากดันให้ลำต้นสูงขึ้น เห็นรากโผล่สูงขึ้นเหนือพื้นดินคล้ายๆไม้ตลกรากไม้ดัดไทย ลำต้นมีลีลาอ่อนช้อย และงอกรวมเป็นกอขึ้นมา
11
แบบลู่ลม ( Windswept)
ลักษณะลำต้นไปตามลม ลำต้นจะเอนไปทางด้านหนึ่งเหมือนถูกลมพัด กิ่งและพุ่มใบจึงแตกในด้านที่ถูกลมพัดไปด้านเดียว ดูคล้ายต้นไม้ริมหน้าผา ริมทะเล ที่ถูกลมพัดไปด้านเดียวตลอดปี
แบบอักขระ (Literati )
ลักษณะลำต้นสูงขึ้นเรียวเอนออกจากแนวตั้งเล็กน้อย แล้วยอดหักกลับลงดิน แล้วปลายยอดหักขึ้นอีก คล้ายตัวหนังสือจีน
12
แบบปลูกบนหิน ( Rock – Grown)
ไม้งอกบนหิน บอนไซแบบรากเกาะก้อนหินมีอยู่หลายชนิด และเรียกแตกต่างกันออกไป เช่น Root over rock เป็นการปลูกบนหินหรือข้างก้อนหินให้รากเกาะหินก่อนจะเลื้อยลงดิน รูปร่างของลำต้นอาจเป็นได้หลายแบบ แล้วแต่ก้อนหินที่เกาะอยู่ และลักษณะของลำต้นแบบ clinging to a rock เป็นการปลูกพันธุ์ไม้ตามก้อนหินแต่ไม่เห็นรากเกาะอยู่กับหินเหมือนแบบราก อาจมีพันธุ์ไม้หลายอย่างหรือพันธุ์ไม้หลายต้นเกาะอยู่บนก้อนหิน บอนไซแบบนี้นอกจากเลือกพันธุ์ที่งามประกอบกันไปด้วย บรรยากาศที่ได้จะเหมือนกับไม้ขึ้นบนหินใหญ่หรือยอดเขา และ หากใช้กระถางที่ค่อนข้างแบนใส่น้ำท่วมรอบกระถาง ก็จะได้บรรยากาศดังต้นไม้ขึ้นบนเกาะกลางทะเล
13
แบบไม้กวาด ( Broom)
เป็นไม้ทรงคล้ายแบบต้นตั้งตรง แต่ปล่อยให้การแตกกิ่งแขนงและการแตกใบออกเป็นพุ่มคล้ายไม้กวาด ความสวยงามอยู่ที่การแตกกิ่งแขนงซึ่งต้องใช้ศิลปะในการตกแต่งอยู่บ้าง
14
แบบแบน (Raft)
ลำต้นจะราบไปกับดิน กิ่งก้านที่แตกออกมาตั้งตรงแลดุคล้ายกับไม้ขึ้นเป็นกลุ่ม จัดให้ก่งพุ่มใบแยกห่างออกจากกันพอควรเพื่อให้เห็นลำต้นที่งอกออกมาหลายลำต้นได้ถนัด ยิ่งเป็นไม้ที่มีสภาพ คดงอตามธรรมชาติจะสวยงามมากยิ่งขึ้น
15
แบบหลายลำต้น (Multiple Trunk )
บอนไซแบบนี้เป็นไม้กอมีลำต้นหลายๆต้นงอกขึ้นมาจากรากเดียวจากลำต้นเดียว ตัดแต่งให้ดูเหมือนมีหลายลำต้นตั้งแต่ 3 ลำต้นขึ้นไป แต่ส่วนใหญ่มักจะแต่งให้มีจำนวนเป็นคู่ ก่อความรู้สึกเป็นป่าเล็กๆหรือป่าละเมาะ
16
แบบปลูกเป็นกลุ่ม ( Multiple Tree )
บอนไซประเภทนี้ กระถางหนึ่งๆจะมีต้นไม้ตั้งแต่ 9 ต้นขึ้นไป ส่วนใหญ่จะปลูกเป็นไม้พันธุ์เดียวกัน แล้วจัดตัดแต่งให้ดูเหมือนกับสภาพป่า โดนจัดให้มีความสมดุลต่อเนื่องกัน โดยทั่วไปแล้วจะต้องใช้พันธุ์ไม้เดียวกันหรืออยู่ในกรุ๊ปเดียวกัน ควรเลือกไม้ที่มีพุ่มใบสีเขียวสดตลอดกาล และเปลี่ยนใบหรือผลัดใบในบางฤดูกาล ผสมกัน ถ้าเป็นไม้คนละพันธุ์แล้วการจัดแต่งจะทำได้ยากขึ้น
17
แบบ Split-Trunk
เป็นบอนไซกอใหญ่ที่ต้นตอมีแก่นไม้ตายโผล่ให้เห็น ดูคล้ายตอไม้ตายที่แตกแขนงใหม่ (แอบตอ)
18
แบบ Prif Wood
เป็นบอนไซคล้ายแบบ Split Trunk แต่จะมีลำต้นอายุมากกว่าลำต้นเหมือนไม้ตายแล้ว มีลวดลายและบิดไปมา มีตามีปุ่มที่ตอไม้
19
ขอบคุณ ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ
จาก หนังสือ คู่มือบอนไซ โดย พรรณทวี พรประเสริฐกุล
และแบบ บอนไซที่นำเสนอต่อไปนี้เป็นแบบที่เราพบเห็นกันบ่อย
ซึ่งเป็นการแบ่งย่อยจากทั้ง 5 ลักษณะข้างต้นอีกทีหนึ่ง คือ
แบบลำต้นตั้งตรง ( Formal Upright )
คือบอนไซที่มีลักษณะลำต้นตั้งตรงทำมุมกับแนวระดับ 90 องศา บอนไซรูปแบบนี้ลักษณะที่ดีเลิศลำต้นต้องตรง มีลำต้นเดียว มีกิ่งและช่อใบแตกเป็นพุ่มสองข้างของลำต้นเท่ากัน กิ่งที่ยื่นออกมาจะรับกับลำต้นได้สัดส่วน ช่อใบจะแตกเป็นพุ่มทรงพุ่มแบนแหลม ให้ความรู้สึกมีพลัง มีรากแข็งแรงแตกรอบต้นทุกทิศทาง ให้ความรู้สึกมั่นคง รวมความรู้สึกทั้งหมดที่ได้ให้บรรยากาศสง่า ภูมิฐาน ดังหอคอยตั้งสูงตระหง่าน
แบบลำต้นตั้งไม่ตรง( Informal Upright)
ลำต้นอาจจะไม่ตรงทีเดียวเหมือนแบบแรก แต่รูปทรงทั้งหมดอยู่ในแนวตั้งเป็นเส้นตรงเดียวกัน มีลักษณะของลำต้นส่วนกลางเอนมาทางขวาเล็กน้อยแล้วกลับงอใหม่เป็นเส้นตรง พุ่มใบที่แตกออกจากลำต้นอาจไม่เท่ากันทั้งสองข้างของลำต้นเหมือนแบบแรก มีลำต้นเดียว
.gotoknow.