รู้หรือไม่ !! การเคี้ยวมะนาว สามารถเลิกบุหรี่ใน 2 สัปดาห์ แบบนี้ต้องลอง !!
บทความนี้เหมาะสำหรับ ใครที่กำลังมองหาวิธีเลิกบุหรี่อยู่หรือใครอยากหาวิธีให้กับคนที่เรารักเลิกบุหรี่ เพื่อให้มีสุขภาพที่ดี จะได้อยู่กับเราไปนานๆ วันนี้เรามีเคล็ดลับง่ายๆกันค่ะ
ผศ.กรองจิต กล่าวต่อว่า วิธีการกินมะนาวช่วยเลิกบุหรี่ ต้องหันมะนาวเป็นชิ้นเล็กๆให้มีเปลือกติดมาด้วย ขนาดเท่าหัวแม่โป้ง หรือ พอคำ เมื่อมีความรู้สึกอยากสูบบุหรี่ ให้กินมะนาวแทน โดยอมแล้วค่อยดูดความเปรี้ยว จากนั้นเคี้ยวเปลือกอย่างช้าๆ นาน 3-5 นาที จะมีผลทำให้ลิ้นข่ม เฝื่อน
จากนั้นดื่มน้ำ 1 อึก นอกจากช่วยลดความอยากนิโคตินแล้ว เมื่อสูบบุหรี่จะทำให้รสชาดบุหรี่เปลี่ยนขมจนไม่อยากสูบ และสามารถกินมะนาว หรือผลไม้ชนิดอื่นที่มีความเปรี้ยวมากๆ ได้ทุกครั้งที่เกิดความอยากบุหรี่ แต่เมื่อเทียบกัน พบว่ามะนาวจะได้ผลดีที่สุด
“การเลิกบุหรี่ ด้วยการกินมะนาวส่วนใหญ่จะสามารถเลิกบุหรี่ได้ภาย ใน 2 สัปดาห์ และไม่อยากบุหรี่อีก ถือว่าชนะนิโคตินได้ มีการนำไปทดลองกับนักเรียน หลายคนที่ได้ทดลองวิธีนี้ จะรู้สึกว่าสูบบุหรี่แล้วไม่อร่อย รสชาดไม่เหมือนเดิม ทำให้ไม่อยากสูบบุหรี่อีก
อย่างไรก็ตาม แม้อาการทางกาย คือ ความอยากจะหมดไปแต่ อาการทางใจบางครั้งจะยังมีอยู่ เช่น เศร้า หงุดหงิดเหมือนคนอกหัก คนรอบข้างต้องให้กำลังใจ และตั้งใจเลิกอย่างเด็ดขาด จะสามารถเลิกได้อย่างแน่นอน” ผศ.กรองจิต กล่าว
ด้าน นางอนงค์ พัวตระกูล อาจารย์โรงเรียนบางมดวิทยา ‘สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์’ ซึ่งได้รับ รางวัลควบคุมยาสูบแห่งชาติ ประเภท สถานศึกษาปลอดบุหรี่ กล่าวว่า จากการทำค่ายลดละเลิกบุหรี่ โดยนำนักเรียนที่สูบบุหรี่จำนวน 75 คน มาทำกิจกรรมโดยให้ความรู้ถึงพิษภัยของบุหรี่ และให้เด็กใช้เวลาในการเลิกบุหรี่อย่างจริงจัง ประมาณ 3-7 วัน
รวมทั้งใช้วิธีการเคี้ยวมะนาวเพื่อช่วยลดความอยากสูบบุหรี่ พบว่า ร้อยละ 75 จะสูบไปครั้งคราว เมื่อผ่าน 2 สัปดาห์ จะมีเด็กที่เลิกสูบเด็ดขาด ร้อยละ 50 และภายใน 1 ปี มีเด็กเพียง ร้อยละ 30 ที่กลับไปสูบอีก โดยปัจจัยเสริมที่ทำให้เลิกได้พบว่า หากเป็นเด็กที่มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงก็จะเลิกง่ายกว่าเด็กที่หัวอ่อนตามเพื่อน
“ภายใน 2 สัปดาห์ พบว่าการติดตามพฤติกรรมร่วมกับ การใช้มะนาวช่วยเลิกบุหรี่ สามารถทำให้เด็กลด และเลิกบุหรี่ได้นอกจากนี้ ต้องมีคนให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำ ซึ่งโรงเรียนต้องใช้ทั้งไม้อ่อน ไม้แข็งในการดูแลเด็ก มีการทำโทษ แจ้งผู้ปกครอง หรือแม้แต่การให้ไปเสียค่าปรับที่โรงพักก็เคยมี
เนื่องจากการเลิกบุหรี่ในเด็กกับผู้ใหญ่มีความแตกต่างกัน ส่วนใหญ่ที่เลิกได้จริง ก็จะเกิดจากความตระหนักรู้เกี่ยวกับพิษภัย และไม่กลับมาสูบบุหรี่อีกตลอดไป”
99